วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556



ายชื่อเพลงพระราชนิพนธ์ทั้ง 48 เพลง
สนใจเนื้อเพลงพระราชนิพนธฺ์ คลิก
1
แสงเทียน   (Candlelight Blues)
25
สายลม (I Think of You)
2
ยามเย็น (Love at Sundown)
26
ไกลกังวล (When)เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย
3
สายฝน (Falling Rain)
27
แสงเดือน (Magic Beams)
4
ใกล้รุ่ง (Near Dawn)
28
ฝัน (Somewhere Somehow), เพลินภูพิงค์
5
ชะตาชีวิต (H.M. Blues)
29
มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March)
6
ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men's Blues
30
ภิรมย์รัก (A Love Story)
7
มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March)
31
Nature Waltz
8
อาทิตย์อับแสง (Blue Day)
32
The Hunter
9
เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You)
33
Kinari Waltz
10
คำหวาน (Sweet Words)
34
แผ่นดินของเรา (Alexandra
11
มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn)
35
พระมหามงคล
12
แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart)
36
ยูงทอง
13
พรปีใหม่
37
ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)
14
รักคืนเรือน (Love Over Again)
38
เตือนใจ (Old-Fashioned Melody)
15
ยามค่ำ (Twilight)
39
ไร้เดือน (No Moon), ไร้จันทร์
16
ยิ้มสู้ (Smiles)
40
เกาะในฝัน ( Dream Island)
17
มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March)
41
แว่ว (Echo)
18
เมื่อโสมส่อง (I Never Dream)
42
เกษตรศาสตร์
19
ลมหนาว (Love in Spring)
43
ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)
20
ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)
44
เราสู้
21
Oh I say
46
เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21)
22
Can't You Ever See
46
Blues for Uthit
23
Lay Kram Goes Dixie
47
รัก
24
ค่ำแล้ว (Lullaby)
48
เมนูไข่
ความสนพระราชหฤทัยด้านดนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงอ่านหนังสือเกี่ยวกับการดนตรีตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับการฝึกฝนตามแบบฉบับการศึกษาวิชาดนตรีอย่างแท้จริงคือการเขียนโน้ตและบรรเลงแบบคลาสสิก มีพระอาจารย์ถวายคำแนะนำอย่างเข้มงวดนานกว่า ๒ ปี

หลังจากทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีไปในแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงที่บรรเลงโดยนักดนตรีเหล่านั้น แล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์การเป่าโซปราโน แซกโซโฟน ของซิดนี่ เบเซ่ (Sydney Bechet) ออโต แซกโซโฟน ของจอห์นนี่ ฮอดเจส (Johny Hodges) เปียโนและวงดนตรีของดยุค เอลลิงตัน (Duke Ellington) เป็นต้น


ยามที่ทรงว่างจากการศึกษาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานักเรียนไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปร่วมสโมสรสังสรรค์ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และร่วมทรงดนตรีด้วยอย่างสำราญพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จฯ ประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ก็ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณร่วมทรงดนตรีกับนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส การที่ทรงใช้ดนตรีวงสมัครเล่นเป็นสื่อสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่สนุกสนานและเป็นกันเองเช่นนี้ ได้กลายเป็นผลประโยชน์อเนกอนันต์ในเวลาต่อมา คือการประสานความร่วมมือระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับบุคคลในวงการต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานสาธารณประโยชน์นานาประการแก่ประเทศชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวงทั้งไทยและต่างประเทศ ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด สำหรับวงดนตรีแจ๊สนั้น ยังทรงดนตรีได้ทั้งชนิดมีโน๊ตและไม่ต้องมีโน้ต

เมื่อถึงตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม ศัพท์ทางดนตรีเรียกว่า การเดี่ยวแบบ "Soloadlip" ซึ่งถือว่ายาก เพราะนักดนตรีจะต้องแต่งเนื้อหาขึ้นโดยฉับพลัน แต่ให้อยู่ในกรอบของจังหวะและแนวเพลงนั้น พระราชอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้นถึงขั้นที่ทรงคลาริเน็ตและแซกโซโฟนบรรเลงได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงกับนักดนตรีต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) นักตีระนาดเหล็กสากล ไลออเนล แฮมพ์ตัน (Lionel Hampton) นักเป่าทรัมโบน และ สแตน เก็ตส์ (Stan getz) นักเป่าเทนเนอร์ แซกโซโฟน

เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครนิวยอร์คประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงของโลกเหล่านั้นล้วนถวายการยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริภาพสูงส่ง

ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น ๕ เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน เช่น "เราสู้" เป็นต้น



วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดนตรี (อังกฤษ: music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้

 ประโยชน์ของเสียงดนตรี

  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • พัฒนาด้านอารมณ์
  • พัฒนาด้านภาษา
  • พัฒนาด้านร่างกาย
  • พัฒนาด้านปัญญา
  • พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล
  • พัฒนาด้านสุนทรีย์

                                                             รับชมวีดีโอ
ดนตรีบำบัด
ดนตรี คือ เสียงที่มีการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ มีแบบแผน และโครงสร้างที่ชัดเจน เป็นกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยมีการเรียบเรียงในด้าน ระดับเสียง จังหวะ  ทำนอง การประสานเสียง ความต่อเนื่อง และคุณภาพของเสียงดนตรี
ดนตรีบำบัด คือ การใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุมกลุ่มคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลตอบรับกับการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากความบกพร่องของร่างกายต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทางร่างกาย และสติปัญญา   ซึ่งดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน
มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลของดนตรีที่มีต่อร่างกาย ซึ่งพบว่า ดนตรีสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ  อัตราการเต้นของชีพจร  ความดันโลหิต  การตอบสนองของม่านตา  ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด ไปในทางที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)